วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคของการแต่งเพลง

 
 
 
 
 
 
 
 
 [smiley=smiley04.gif]การแต่งเพลง ส่วนใหญ่จะใช้หลักการนับ "จังหวะ" ของแต่ละห้องโน๊ต ซึ่งจังหวะนั้นจะแบ่งได้ 3 ประเภท คือ "แบบ2จังหวะ","แบบ3จังหวะ" และ "แบบ4จังหวะ" ซึ่งจังหวะนี้เป็นหลักสำคัญของเพลงเลยทีเดียว ถ้าไม่มีจังหวะก็ไม่เกิดเพลงขึ้น หรือเกิดแค่เสียงที่ไม่สละสลวย การแต่งเพลงนั้นที่ยอดฮิตที่สุดคือการแต่งเพลง "ดูเอ็ท" คือการแต่งเพลงที่คล้ายๆการร้องเพลงประสานเสียงระหว่างคนสองคน แต่ว่าเปลี่ยนเป็นการเล่นด้วยเครื่องดนตรีชนิดเดียวกัน แต่เล่นเพลงเป็น 2 เสียง(มี 2 โน้ต) ส่วนใหญ่จะพบในโน๊ตเปียโน เช่นเพลง The Piano Duet สมมติว่าคุณกับเพื่อนคุณมีไวโอลินคนละ 1 เครื่อง แล้วคุณต้องการแต่งเพลง คุณต้องมีวิธีการทำให้เสียงไวโอลิน 2 เครื่องเข้าด้วยกันได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ [smiley=smiley04.gif]

 [smiley=smiley04.gif]ยอดฮิตมากในปัจจุบัน คุณต้องมีวิชาการฟังเสียง 2 เสียงนี้ให้เข้าด้วยกันก่อน ถ้าคุณมีวิชานี้แล้วคุณสามารถแต่งเพลงต่อไปได้โดยการใช้จังหวะ ถ้าคุณเลือกการแต่งเพลงแบบ 2 จังหวะ ซึ่งเป็นจังหวะที่แต่งเพลงค่อนข้างยากและสับสน คุณอาจจะต้องใช้เวลานาน (ตัวอย่างเพลง : Love Story) ถ้าคุณเลือกการแต่งเพลงแบบ 3 จังหวะ ซึ่งเป็นจังหวะที่แต่งเพลงยากเหมือนกันกับแบบ 2 จังหวะ (ตัวอย่างเพลง : Beethoven's Fur Elise) ถ้าคุณจะแต่งเพลงแบบ 4 จังหวะ ซึ่งเป็นจังหวะที่แต่งง่ายที่สุด (ตัวอย่างเพลง : เห็นได้ทั่วไป) เมื่อคุณคิดจะเอาจังหวะไหนแล้ว อันดับแรกคุณต้องมีวิชาการอ่านตัวโน๊ตเสียก่อน ถึงจะแต่งเพลงได้ ซึ่งโน๊ตเพลงสากลทั่วไปจะใช้หลักการ Chord มาช่วยด้วย ซึ่งทำให้เพลงมีอารมณ์แตกต่างกันไป (สมมติถ้าใช้ chord : C Major ก็จะออกอารมณ์อ่อนไหวเหมือนท้องฟ้า ถ้าใช้ chord : E Major ก็จะออกอารมณ์หนักแน่นมุ่งมั่นดังไฟ) เมื่อคุณเลือก chord เสร็จแล้ว อย่างแรกคุณต้องหมั่นนับจังหวะห้องโน๊ตด้วย ถ้าคุณเขียนเกิดไป 1 จังหวะห้องโน๊ต จะทำให้โน๊ตเสียไป ซึ่งเป็นปัญหาธรรมดาๆ จากนั้นถ้าคุณแต่งเพลงได้แล้ว คุณต้องจำแนกชนิดของเครื่องดนตรีด้วย เพราะโน๊ตแต่ละเครื่องดนตรีจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง [smiley=smiley04.gif]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น